GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA ต้องทำประกันอุบัติเหตุให้ไรเดอร์ทุกคน!

GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA ต้องทำประกันอุบัติเหตุให้ไรเดอร์ทุกคน!
(For English, please scroll down)
ในสภาพเศรษฐกิจแบบทุกวันนี้ หลายธุรกิจอื่นที่ทยอยปิดตัวลง คนตกงาน แต่หนึ่งในธุรกิจที่โตสวนทางกับธุรกิจอื่นก็คงหนีไม่พ้นบริษัทแพลตฟอร์มเดลิเวรี่ ที่เติบโตขึ้นมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของของไรเดอร์หลายหมื่นคนที่บริษัทพยายามเรียกพวกเขาว่า ‘พาร์ทเนอร์’
แม้หลายบริษัทดูจะมีภาพลักษณ์ที่สวยงาม เป็นมิตร แต่ในความเป็นจริง ไรเดอร์กว่าหลายหมื่นคนในประเทศนี้กำลังตกอยู่ในสภาพ ‘จำยอม’ เพราะต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่บริษัทกำหนดเองฝ่ายเดียว ซึ่งไรเด้อร์ก็ต้องทนเสียเปรียบอยู่เรื่อยไป...เพราะไม่อยากตกงานในตอนนี้
วันนี้ พวกเราไรเดอร์จึงอยากขอเสียงประชาชน โดยเฉพาะคนที่ใช้แอพเดลิเวอรี่ช่วยบอก GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA และแอพอื่นๆ ให้ปฎิบัติกับไรเดอร์ตัวเล็กๆ อย่างเป็นธรรม เริ่มจากการทำประกันอุบัติเหตุให้ไรเดอร์ทุกคนโดยทันทีตั้งแต่เริ่มงาน โดยต้องคุ้มครองความเสียหายทั้งทางร่างกาย ทรัพย์สิน มีการชดเชยกรณีเจ็บหนัก ทำงานไม่ได้ พิการ หรือเสียชีวิต
เพราะในทุกๆ วัน ไรเดอร์ใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนมากกว่าวันละมากกว่า 8 ชั่วโมง ในประเทศที่ถูกจัดอันดับให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย ตายมากกว่าปีละ 20,000 คน
เหตุที่ชีวิตไรเดอร์ต้องเสี่ยงอุบัติเหตุมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะเงื่อนไขต่างๆ ที่บริษัทกำหนดแบบให้คุณให้โทษ เช่น ต้องวิ่งรอบแข่งกับเวลา ส่งมากก็ยิ่งได้เงินมาก ถ้าส่งช้า ไม่ว่าจะมีอุปสรรคระหว่างทาง หมุดปักไม่ถูก ฝนตก ก็มักเป็นไรเด้อร์ที่ถูกหักเงิน แถมเวลาวิ่งงานก็ยังต้องขับมอเตอร์ไซไปดูมือถือไปด้วย
หลายบริษัทมีหลายนโยบายว่าตายในหน้าที่เท่านั้นถึงจะจ่ายเยียวยา บ้างก็จะจ่ายเฉพาะถ้าคนตายวิ่งครบรอบที่ ‘บริษัทกำหนด’ เจ็บไม่จ่าย บางบริษัทที่เหมือนจะดีหน่อย (แต่ก็ยังดีไม่พอ) คือต้องวิ่งรอบให้ได้ตามเป้าในช่วงเวลาที่จำกัดก่อนถึงจะได้ประกันอุบัติเหตุ แต่ในเงื่อนไขนี้เองก็ยิ่งทำให้ไรเด้อร์ต้องเสี่ยงตาย รีบเร่งวิ่งทำรอบให้ได้มากเกินกว่าปกติ
ทั้งหมดนี้ ไรเดอร์ที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่อยากตกงาน ก็ต้องยอม เป็นค่าแรงที่อาจต้องแลกด้วยร่างกาย หรือชีวิต….บริษัทมองเห็นไรเดอร์ที่ทำงานให้เป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อหรือเป็นแค่ปัจจัยการผลิต เสียไปก็หาใหม่มาทดแทน???
เหมือนกรณีของจิมมี่ หรือ มณีวรรณ มณีศรีขำ ไรเดอร์หญิงจากจังหวัดอยุธยา ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างที่กำลังส่งอาการ รถถูกเบียดจากรถบรรทุกที่เปลี่ยนเลนกะทันหัน ทำให้ตัวเธอและรถลงไปไถกับถนน จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ถูกตัดขา สะโพกร้าว ในช่วงรักษาก็มีปัญหาเพราะโรคประจำตัวเดิมทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดเพิ่มอีก….แต่ก็ไม่มีการช่วยเหลืออะไรเลยจากบริษัทต้นทาง จนไรเด้อร์ด้วยกันเองออกมาโพสเรื่องนี้เพื่อขอความช่วยเหลือในเฟซบุค เรื่องแดงกลายเป็นข่าว (7 มิ.ย. 64) บริษัทถึงจะเข้ามาดูแล ตอนนี้ครอบครัวเธอก็ขาดเสาหลักที่หารายได้ และก็ลำบากมากขึ้นหลายเท่าตัว
ส่วนไรเด้อร์อีกคนที่เป็นกู้ภัย ก็บอกว่า “ผมขอพูดอะไรอย่าง ผมเป็นกู้ภัย ผมเก็บไรเด้อxxxxx (ชื่อแพลตฟอร์มส่งอาหารแห่งหนึ่ง) มาเยอะแล้วครับ”
อุบัติเหตุของไรเดอร์แบบนี้เกิดขึ้นแทบจะรายวัน แต่บริษัทแพลตฟอร์มต่างๆ กลับพากันปัดความรับผิดชอบอยู่เรื่อยๆ อ้างว่า ไรเดอร์ไม่มีสถานะลูกจ้าง บริษัทจึงไม่ต้องให้ความคุ้มครองเวลาเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงาน ซึ่งนอกจากเรื่องประกันอุบัติเหตุแล้ว ไรเดอร์ก็ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์อื่นๆ ที่ควรได้รับด้วย….
วันนี้จึงต้องออกมาขอเสียงผู้ใช้งานแอพฯ เป็นกระบอกเสียงร่วมกับกลุ่มไรเด้อร์อีกทาง...ว่าอย่ารอให้ไรเดอร์ตาย GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA และแอพอื่นๆ ต้องทำประกันอุบัติเหตุให้ไรเดอร์ทุกคน ด่วน!
----
Don’t Wait Until Deaths Do Your Riders Apart: GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA and all food delivery platform MUST provide insurance for your riders
While many businesses have to shut down due to the current economic recession, the food delivery platform/companies happen to make significant growth, undeniably because of the work of tens of thousands riders, whom the companies call them “partners”.
The companies’ images are usually flowery and friendly, but in reality tens of thousands riders have to endure the conditions unilaterally forced upon by the companies. Riders knowingly submit to the losing side… because they do not want to lose jobs.
Therefore, we would like to gain the support of the people, especially the customers of GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA, and other food delivery applications, to call them out to treat their riders with better served justice, by providing all the riders with accident insurance since they begin taking delivery jobs. The companies must provide coverage for riders in cases of physical and property damages, including income compensation for riders who die or sustain career-ending injuries.
These riders spend more than 8 hours daily on the streets, in a country with ninth road accident rate in the world, and the highest accident rate in Asia, with 20,000 deaths.
Undeniably, the conditions defined by the companies, such as pays per deliveries incentives or penalties (such as pay deduction) for failed deliveries at all causes (even though the failures were unavoidable such as wrong GPS or heavy rain) are the major causes of accidents. Due to the pressure and the nature of the works, most riders have to look at their mobile phones while driving their motorcycles.
Some companies only give insurance benefits only to the riders who “die on the jobs”, some pay only to the dead riders who have “made the targets”, the better (still not good enough) companies set the required delivery targets for riders to receive accident insurance. However, this could be a “double-edge” sword as the more riders try to achieve the target, the higher chance they come across of having an accident.
As riders do not have sustainable income, they cannot afford to lose jobs and have to risk their lives even for the jobs that could be life-threatening. Do the companies perceive the lives of riders as something worth protected?
Such as the case of Jimmy, or Ms.Maneewan Maneesrikham, a woman rider from Ayutthaya province whose motorcycle was hit during de by a truck changing lanes, causing her severe injuries that had right leg cut off and her rib fractured. During the treatment, her chronic illness also caused blood infection. The company’s response was pretty much nothing until groups of riders started to spread the news and ask for donation on Facebook. The company then would later take action. For now, her family is affected due to losing an income provider, causing greater difficulty.
One rider, who also volunteers as a first responder, once said “May I speak something? I am a first responder. I have collected the bodies of (name of one food delivery application) riders one too many”
These accidents happen daily but we still do not see enough responsibility from the company. What we usually hear are the excuses of how these riders do not have “employee status”, hence the companies are not obliged to provide accident insurance to riders, among others the companies claim they are not obliged to provide.
Therefore, we would like to ask for the support from the customers…. do not let deaths do your riders apart , GRAB, LINE MAN, FOOD PANDA and all platform food delivery companies, Insure your riders