ปรับปรุงถนนหลังมอประตู 5 ถึงประตู 6

ปรับปรุงถนนหลังมอประตู 5 ถึงประตู 6
ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

การชำรุดของผิวทางคอนกรีตมีสาเหตุ 2 ประการคือ
ประการแรก เกิดในตัวคอนกรีตเอง เช่น ใช้ส่วนผสมไม่เหมาะสม มีปูนซีเมนต์น้อยเกินไป หินที่ใช้มีความแกร่งไม่พอ ใช้น้ำไม่สะอาด ผสมคอนกรีต มีสารเคมีปะปน การเสริมเหล็กผิดตำแหน่ง
ประการที่สอง เกิดจากพื้นทาง ดินคันทางไม่แข็งแรงเพียงพอเมื่อมีน้ำหนักยานพาหนะบดทับทำให้เกิดการเสียหาย เช่น การอัดทะลัก (Pumping and Blowing) เกิดรอยแตกบริเวณมุมและรอยต่อของแผ่นคอนกรีต
ประเภทความเสียหายแบ่งออกได้ดังนี้
ความแข็งแกร่งของคอนกรีต (Durability of Concrete)
ผิวหน้าคอนกรีตหลุดล่อน (Scaling)
รอยแตกเนื่องจากการหดตัว (Shrinkage Cracks)
รอยแตกเนื่องจากเหล็กเดือยฝังยึดแน่น (Frozen Dowel Bars)
รอยแตกเนื่องจากการห่อตัว (Warping Cracks)
รอยแตกเนื่องจากการหดตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำ (Contraction Cracks)
การอัดทะลัก (Pumping and Blowing)
ผิวทางคอนกรีตแตกเนื่องจากโครงสร้างไม่แข็งแรง (Structural Breaking)
ผิวทางโก่งแตกเพราะการขยายตัว (Blowup)
การเคลื่อนตัวในชั้นใต้ดินลึก (Deep Foundation Movement)
รอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีตทรุดตัว (Faulted or Depressed Joints)
การบดอัดของล้อเฉพาะแนว (Channelized Traffic)
การชำรุดและการซ่อมแซมถนน
จากสภาพของถนนบริเวณข้างๆ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีการสัณจรของรถจักรยานยนต์ และรถยนต์เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ถนนที่ใช้สัณจรนั้น มีการเกิดความเสียหายไปตามแต่สภาพของการใช้งาน ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นบนผิวของถนนนั้นจะมีความเสียหายที่แตกต่างกันออกไป
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผิวของถนนมีหลายชนิด แบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆตามการซ่อมแซมได้ดังนี้
1.วิธีการอุดรอยแตก (Crack Filling) คือการซ่อมแซมถนนที่เกิดความเสียหายในลักษณะการเกิดรอยแตก ที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านรอยแตก และอุดรอยแตกของช่องว่างที่อาจลึกลงไปถึงชั้นโครงสร้าง
2.วิธีการฉาบผิวแบบฟ็อกซีล (Fog seal) คือการซ่อมแซมพื้นผิวของถนนที่แตกเป็นรอยเส้นเล็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงไปในผิวของรอยแยก
3.วิธีการฉาบผิวแบบชิพซีล (Chip Seal) คือการซ่อมแซมถนนที่ผิวหน้าของถนนเกิดการหลุดร่อนออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้ถนนเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
4.การฉาบผิวแบบสเลอรี่ซีล (Slurry Seal) คือการซ่อมแซมความเสียหายของถนนที่เกิดความเสียหายเฉพาะชั้นผิวทาง ที่เกิดในโครงส้รางที่ยังไม่เสียหายหรือชำรุดวิธีนี้จะใช้ในการซ่อมแซมถนนชั่วคราวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านลงไปทำความเสียหายให้แก่ชั้นโครงสร้าง และยังช่วยสร้างความฝืดให้แก่ผิวถนนที่มีความลืนได้
5.การปะซ่อมผิวทาง (Skin Patching) คือการซ่อมแซมความเสียหายของถนนที่เกิดความเสียหายเฉพาะชั้นผิวทาง โดยนำผิวทางเดิมที่เสียหายออก แล้วนำไปผสมกับส่วนผสมใหม่ ใช้ในการซ่อมแซมผิวที่แตก และหลุดร่อนออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านลงไปทำลายโครงสร้างของชั้นถนน และยังคืนสภาพให้ถนนสามารถกลับมาใช้งานได้ใหม่
6.การขุดซ่อมผิวทาง (Deep Patching) คือการซ่อมแซมความเสียหายของถนนที่ความเสียหายเกิดขึ้นลึกกว่าชั้นผิวทาง ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ จะทำให้ถนนเกิดการบวมแตก ผิวหลุดร่อน การซ่อมแซมในลักษณะนี้จะเป็นการซ่อมแซมแบบถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในชั้นโครงสร้างลุกลามขึ้นไปมากกว่าเดิม และยังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นไปได้อีก
7.วิธีการเสริมผิวแบบแอสฟัลต์ (Asphalt Overlay) คือการซ่อมแซมผิวถนนเดิมโดยการเสริมวัสดุผิวทางด้วยแอสฟัลต์บนผิวทางเดิม เพื่อแก้ไขความเสียหายของผิวทาง และเสริมความแข็งแรงให้แก่ผิวของถนน สามารถปรับระดับผิวทางที่ทรุดตัวเป็นแอ่งร่องล้อ และเสริมความแข็งแรงให้โครงสร้างของถนน
8.การอุดซ่อมโพรงใต้แผ่นพื้นถนนคอนกรีต (Subsealing) คือการซ่อมแซมถนนอุดโพรงใต้ถนนคอนกรีต ที่มีผลความเสียหายจากการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการทรุดตัวของโครงสร้างถนนเพิ่มเสถียรภาพให้แก่พื้นคอนกรีต เพื่อป้องกันไม่ให้ถนนเกิดการทรุดตัว และเกิดความเสียหายลุกลามไปมากขึ้น