ธนาคารเพื่อการพัฒนา: โปรดเลิกส่งเสริมวิกฤตสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดระลอกใหม่

ธนาคารเพื่อการพัฒนา: โปรดเลิกส่งเสริมวิกฤตสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดระลอกใหม่

Started
August 11, 2020
Signatures: 28,983Next Goal: 35,000
Support now

Why this petition matters

Started by Sinergia Animal

มีอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงกับสองวิกฤติยิ่งใหญ่ที่มนุษยชาตเผชิญอยู่ในขณะนี้ – วิกฤติสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดระลอกใหม่ และอุตสาหกรรมดังกล่าวก็คืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการหลักของ การตัดไม้ทำลายป่าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 14.5% รวมถึงทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมสภาพ มีมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ย่ำแย่ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไวรัสชนิดใหม่ เหมือนกับโควิด-19 

ทว่าธนาคารเพื่อการพัฒนารายใหญ่ของโลก เช่น ธนาคารโลก(World Bank) และธนาคารแห่งยุโรปเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (European Bank for Reconstruction and Development)  ซึ่งควรจะเป็นหน่วยงานที่ช่วยมนุษยชาติในการสร้างโลกที่ยั่งยืนกว่าและปลอดภัยกว่า กลับให้เงินกู้หลายสิบล้านแก่รูปแบบการปศุสัตว์ที่แย่ที่สุด อีกทั้งยังเมินเฉยต่อคำขอร้องของพวกเรา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเหล่านี้ได้รับเงินภาษีของพวกเรา ซึ่งเป็นเงินสงเคราะห์จากรัฐบาลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ขอให้ทุกคนมาลงชื่อในแคมเปญรณรงค์ฉบับนี้เพื่อขอให้ธนาคารทั้งสองแห่งนี้ยุติการสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมปศุสัตว์

อะไรคือปัญหาของอุตสาหกรรมปศุสัตว์

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ภายในปี 2030 ภาคการปศุสัตว์จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณก๊าซเรือนกระจกสูงสุดที่โลกเราควรปล่อย ตามที่ระบุไว้ในความตกลงปารีส  และภายในปี 2050 ก็จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณกว่า 80% ของปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส หากไม่ลงมือทำอะไรสักอย่างอย่างเร่งด่วน ภาคการปศุสัตว์ก็จะเป็นตัวการของวิกฤติสภาพภูมิอากาศไปเรื่อยๆ  และจะนำไปสู่การเกิดความร้อนรุนแรง ภาวะแล้ง น้ำท่วม และภาวะอดอยากยากจน การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่ไปใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์และเพื่อปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ก็ถือเป็นตัวการหนึ่งซึ่งคาดว่าจะทำลายป่าแอมะซอนและป่าสำคัญอื่นๆ ในโลกต่อไปเรื่อยๆ  ผู้คนพื้นถิ่นและชุมชนคนในท้องถิ่นซึ่งอาศัยอยู่ในภูมิภาคเหล่านี้กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการพลัดถิ่น  ถูกทำให้เป็นบุคคลผิดกฎหมาย และตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง

องค์การสหประชาชาติกล่าวว่าโรคระบาดโควิด-19 เป็น “สัญญาณเตือนให้เราเห็นถึงผลกระทบของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและ ความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างเราและธรรมชาติ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (The United Nations Environment Program: UNEP) เน้นย้ำว่าประมาณสามในสี่ของโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่เป็นโรคติดต่อจากสัตว์  หมายความว่าเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสซึ่งแพร่จากสัตว์มาสู่มนุษย์ หากระบบนิเวศยังคงเสื่อมสภาพ และป่ายังคงถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ เช่นนี้ กำแพงกั้นระหว่างสังคมมนุษย์เรา ธรรมชาติ และสัตว์ป่าก็จะหายไป ทำให้ไวรัสแพร่ไปได้เป็นวงกว้างขึ้น

และแย่ไปกว่านั้น สัตว์เช่นวัว หมู และไก่ เกือบทุกแห่งในโลกก็ถูกเลี้ยงในสภาพที่แออัดยัดเยียด และโหดร้ายทารุณอยู่ในฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งก็คืออาคารเชิงอุตสาหกรรมซึ่งขังสัตว์นับพันๆ ชีวิตไว้ด้วยกัน เพราะในฟาร์มเชิงอุตสาหกรรมแบบนี้ สัตว์มักจะเลี้ยงไว้ใน “สภาพที่ไม่สู้จะดีนัก”  ฟาร์มอุตสาหกรรมแบบนี้ อาจช่วยทำให้โรคแพร่ระบาดง่ายขึ้น  และนอกจากนี้ก็ยังใช้ยาปฏิชีวนะชนิดที่สำคัญต่อการรักษามนุษย์อย่างไร้ความรับผิดชอบ ปัญหาของฟาร์มปศุสัตว์อุตสาหกรรมมีมากกว่าโรคและความโหดร้ายทารุณ  ฟาร์มปศุสัตว์มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อท้องถิ่น เช่นก่อมลพิษในแหล่งน้ำที่ใช้ในชุมชน และแม้จะเป็นฟาร์มที่มีขนาดเล็ก ก็ต้องใช้ที่ดินขนาดใหญ่เพื่อปลูกพืชเช่นถั่วเหลือง เพื่อมาเป็นอาหารให้สัตว์

อุตสาหกรรมปศุสัตว์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่  มีบริษัทมูลค่านับล้านดอลลาร์ และมีผลประโยชน์และกิจการมากมายอยู่ทั่วทุกมุมโลก แทนที่จะไปสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา มีโอกาสที่จะไปสนับสนุนด้านการเงินแก่ธุรกิจที่จะช่วยสร้างโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า ปลอดภัยกว่าทั้งต่อสัตว์และมนุษย์

องค์กรต่างๆ จากทั่วโลกต่างก็รวมตัวกันเพื่อส่งข้อเรียกร้องต่อธนาคารเหล่านี้ แต่เสียงสนับสนุนของคุณก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ธนาคารเหล่านี้เป็นตัวแทนจากคนทั่วทั้งโลก  เราจึงต้องรวมตัวกันเพื่อบอกพวกเขาว่าการให้เงินกู้สนับสนุนกิจการเช่นนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และต้องยุติลงเดี๋ยวนี้

เกี่ยวกับแคมเปญรณรงค์ฉบับนี้

แคมเปญรณรงค์ฉบับนี้ดำเนินการโดย Global Forest Coalition, ซิเนอร์เจีย แอนิมอล และ  Feedback. ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน มีจุดประสงค์เพื่อสร้างระบบอาหารที่ยุติธรรมและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อคน สัตว์และโลก 

Support now
Signatures: 28,983Next Goal: 35,000
Support now